ตามที่เป็นข่าวคราว ข่าวคาวปรากฏ ม.ราชภัฏสุรินทร์ โดนฟ้าผ่ากลางปัญหา ที่คาราคาซังมานานกว่า 8 ปี ด้วยคำสั่งพิเศษ ม.44 ของคณะ คสช. ที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา หัวหน้า คสช. ลงชื่อ เมื่อวันที่ 13 กรกฏาคม 2559 นั้น
หาได้ทำให้ “รศ.ดร.อัจฉรา ภานุรัตน์” รักษาการ อธิการบดี ม.ราชภัฏสุรินทร์ ที่รักษาการมายาวนานกว่า 8 ปี จนทำให้หลายคนคลางแคลงในว่าปัญหาทั้งหมดนั้นจากกลุ่มคนคณะเดียว หรือ เกิดจากแค่คนคนเดียวกันแน่ ที่พยายามสร้างตัวว่าสะอาดด้วยการผ่าฝืนกฏหมายหลัก แล้วหยิบกฏหมายรอง มาบอกความชอบธรรมของตัวเองว่า ฉันยังสามารถดำรงตำแหน่งอันทรงเกียรตินี้อยู่ได้
ไอ่กระผมมันคนนอกไม่รู้หรอกว่าทรงเกียรติแค่ไหน ? แต่มองไปในรั้วมหาลัยราชภัฏสุรินทร์ทีไร ก็สลดใจทุกที สงสารเด็ก ๆ นักศึกษา ที่ขาดการดูแลอย่างทั่วถึง สงสารสถานที่ ที่เรียกว่าเป็นเกียรติประวัติของจังหวัดสุรินทร์ ที่มีวิทยาลัยครูดีที่สุดในประเทศ ที่กลับกลายเป็นเพียงแค่ตำนาน ในเพียงไม่ถึงทศวรรษ ได้สลดใจหรือแสดงสปีริตต่อคำสั่งดังกล่าวไม่ !!
ในขณะที่วันเดียวกันที่คำสั่ง ม.44 คสช. ระบุชัดว่าเธอขาดธรรมาภิบาล ในการบริหารสถาบันการศึกษา จนทำให้เกิดวิกฤติ ในสถาบันฯ ร่วมทศวรรษ “รศ.ดร.อัจฉรา ภานุรัตน์” กลับได้ขึ้นเวทีรับรางวัลคนดีแห่งสยาม ที่จัดขึ้นโดย ม.ราชภัฏพระนคร
และทันทีที่กลับจากรับรางวัลคนดีแห่งสยาม “รศ.ดร.อัจฉรา ภานุรัตน์” ก็เรียกทีมประชุมทันที ภายในวันที่ 14 กรกฏาคม 2559 มีคำสั่งแต่ตั้ง ตัวเองและพวก รวมแล้ว 5 คำสั่ง 5 ตำแหน่ง โดยใช้อำนาจ ม.31 พรบ.มหาวิทยาลัยราชภัฏ ปี 2547 ใจความใน มาตรา 31 ระบุว่า
มาตรา 31 อธิการบดีมีอำนาจและหน้าที่
(1) บริหารกิจการของมหาลัยให้เป็นไปตามกฏหมาย กฏ ระเบียบ ประกาศ และบังคับข้อทางราชการและของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ให้สอดคล้องกับนโยบายและวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย
(2) ควบคุมดูแลบุคคลากร การเงิน การพัสดุ สถารที่และทรัพย์สินอื่รของมหาวิทยาลัยได้เป็นไปตามหฏหมาย กฏ ระเบียบ ประกาศ และข้อบังคับของทางราชการและของมหาวิทยาลัย
(3) จัดทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัย และปฏิบัติตามนโยบายและแผนงาน รวมทั้งติดตามประเมิณผลการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย
(4) รักษาระเบียบวินัย จรรยาบรรณ และมารยาทแห่งวิชาชีพของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย
(5) เป็นผู้แทนมหาลัยในกิจการทั่วไป
(6) เสนอรายงานประจำปีเกี่ยวกับกิจการด้านต่าง ๆ ขอมหาลัยต่อสภามหาวิทยาลัย
(7) แต่ตั้งถอดถอนผู้ช่วยอธิการ รองคณบดี รองผู้อำนวยการสถาบัน รองผู้อำนวยการสำนัก รองผู้อำนวยการศูนย์ รองหัวหน้าส่วนราชการหรือรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ และอาจารย์พิเศษ
(8) สงเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของสภาวิชาการ สภาคณาจารย์ และข้าราชการ รวมทั้งสงเสริมกิจกรรมนักศึกษา
(9) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามกฏหมาย กฏ ระเบียบ ประกาศและข้อบังคับของมหาวิทยาลัย หรือตามที่สภามหาวิทยาลัยมอบหมาย
(ในทาง กฏหมายก็ไม่ทราบว่า วันที่ 14 กฏกฏาคม 2559 หลังจากโดน ม.44 ไปนั้นเธอจะมีสถานะเป็น รักษาการอธิการบดี อยู่หรือไม่ ?) โดยได้มีคำสั่งแต่ตั้งตัวเองและพวก ในตำแหน่งระดับผู้อำนวยการดังต่อไปนี้
1. แต่งตั้งตัวเองเป็นผู้อำนวยการศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา (คำสั่งที่ 0656/2559)
2. แต่งตั้ง ผศ.อัศวัน สืบนุการณ์ เป็น ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งมหาวิทยาเขตบนพื้นที่นอกมหาวิทยาลัย (คำสั่งที่ 0655/2559)
3. แต่งตั้ง นายอัครเดช สุพรรณฝ่าย เป็นหัวหน้าฝ่ายพัฒนาองค์กร (คำสั่งที่ 0619/2559)
4. แต่งตั้ง ผศ.อัศวัน สืบนุการณ์ เป็นบุคคลผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมศาสตร์สิ่งแวดล้อมและที่ปรึกษาส่วนกายภาพสิ่งแวดล้อม (คำสั่งที่ 0653/2559)
5. แต่งตั้ง นายประขรรค์ สมนิยาม เป็นผู้เชี่ยวชาญศูนย์มาตรฐานการศึกษา สังกัดสำนักมหาวิทยาลัย (คำสั่งที่ 0651/2559)
ทั้งหมดลงวันที่ 14 กรกฏาคม 2559 ซึ่งหลังจากโดนคำสั่ง ม.44 ไปแล้วหนึ่งวัน คำสั่งนี้จะมีผลทางกฏหมายหรือไม่ก็คงต้องตีความกันไป
ทั้งหมดสอดคล้องกับบรรดากลุ่มกองเชียร์ที่ออกมาบอกว่าเรื่องมันยังไม่จบอย่าเพิ่งดีใจไปหรือสงครามยังไม่จบอย่าเพิ่งนับศพทหาร ซึ่งความจริงคนที่ดีใจ ไม่ได้ดีใจจากที่ใครคนใด คนหนึ่งโดน ม.44 แต่เราดีใจที่ปัญหาจะได้รับการแก้ไข และ มรภ.สุรินทร์ จะได้เดินหน้าต่อไปเสียที
แน่นอนความมัวหมองไม่ได้เกิดแค่กับคนที่โดนคำสั่งโดยตรง แต่มันหมายถึงตัวสถาบันที่ขาดความน่าเชื่อถือไปโดยปริยายจากคำสั่งนี้แม้แต่อาจารย์ในรั้ว วค. เดิม ก็รู้สึกเป็นห่วงเป็นใยต่อปัญหา เหล่านี้เหล่าคณะผู้บริการ ทั้งสภามหาวิทยาลัย และ รศ.ดร.อัจฉรา ภานุรัตน์ จะรับผิดชอบอย่างไร ?
คงเป็นคำถามที่ไร้คำตอบ เพราะเรายังไม่เคยเห็นสปีริต ของคณะบริหารกลุ่มนี้ออกมารับผิดชอบอะไรเลย ตั้งแต่เกิดวิกฤติมาตั้งแต่ต้น
วิกฤติครั้งนี้คงทำให้ทราบว่าคนสุรินทร์ส่วนมากไม่ได้นิ่งนอนใจ รับรู้เรื่องราวปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายในรั้วมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ที่สังสมมายาวนาน
แต่ด้วยปัญหาที่คนนอกไม่อาจแทรกแซงได้ นั้นก็ทำให้คนสุรินทร์ทำได้เพียงแค่รู่สึกอดสู หดหู่ ทุกที ที่คิดถึงมัน
เราไม่อาจทราบว่า อัจฉราและคณะกำลังคิดอะไร มีแแผนอะไร จะเดินแผนต่ออย่างไร แต่ที่เราทราบ คือว่า มรภ.สุรินทร์บอบช้ำพอแล้ว คุณอยากชนะเพิ่อตัวเองหรืออยากให้สถาบันอันทรงเกียรติแห่งนี้เดินหน้าต่อไปเพื่อรับใช้ลูกหลานผลิตบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพยิ่งๆขึ้นไปพัฒนาโครงสร้างภายในมหาวิทยาลัยให้เทียบเท่าจังหวัดข้างเคียง
เลิกใช้สถาบันแห่งนี้เป็นเวทีทางการเมืองหรือเป็นเวทีรักษาหน้าตัวเองแปดปีกว่าๆที่ผ่านมามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์บอบช้ำเกินกว่าจะมีคำมาบรรยายแล้ว
16/7/59
นักคาวหัวเป็ด
One thought on ““อัจฉรา” งัด ม.31 หลังโดน ม.44 แต่งตั้งตัวเองเป็น ผอ.สำนักทรัพย์สินทางปัญญา”